ประวัติความเป็นมา

ตำรวจสันติบาลพร้อมอาวุธ

และเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ปราบโจรมลายู

จักรยานยนต์ฮาร์เล่ย์ของ

กองตำรวจสันติบาล

ชุดจักรยานยนต์เกียรติยศ

นำทูตถวายสารตราตั้งในอดีต

ประวัติความเป็นมาของตำรวจสันติบาล

ก่อนที่กองตำรวจสันติบาลจะได้กำเนิดขึ้นในกรมตำรวจนั้นได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวประกาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2473 ว่า “โดยมีพระราชประสงค์จะให้ราชการในกรมตำรวจภูธรดำเนินเจริญยิ่งขึ้น เป็นการสมควรที่จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ซึ่งรอบรู้ในวิชาการบางอย่างเป็นพิเศษขึ้นไว้ เพื่อประโยชน์แก่การสืบสวนและปราบปรามผู้กระทำผิด” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมขึ้นกรมหนึ่งในกรมตำรวจภูธรชื่อ “กรมตำรวจภูบาล” มีเจ้ากรมเป็นหัวหน้ารับผิดชอบและให้กรมมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจภูธรด้วยในการปฏิบัติราชการให้เจ้าหน้าที่ในกรมนี้มีอำนาจตามกฎหมายเสมือนเสมอกัน และให้เจ้ากรมมีอำนาจออกหมายจับหมายค้นบ้านเรือน หมายเรียก พยานได้ตามกฎหมายทั้งในและนอกเขตกรุงเทพมหานคร 

ต่อมา วันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 ได้มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า สมควรจัดวางโครงการกรมตำรวจขึ้นใหม่ เพื่อให้ได้ราชการยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศด้วยคำแนะนำยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้

1.ให้เปลี่ยนชื่อกรมตำรวจภูธร เป็น “กรมตำรวจ” ให้เป็น กรมชั้นอธิบดี และมีรองอธิบดีเป็นผู้ช่วยข้อ

2.กรมตำรวจแบ่งกิจการออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

3.ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจัดแบ่งแผนกงานรายย่อยออกไปตามสมควรแก่รูปการ

เมื่อได้รับอนุมัติของคณะกรรมการราษฎรแล้วให้ถือว่าเป็นอันใช้ได้ ข้อความดังปรากฎแล้วข้างต้น จึงถือได้ว่า กองตำรวจสันติบาลได้เกิดมีขึ้น เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา จนกระทั่งปัจจุบันและในขณะเดียวกันได้พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ นายพันตำรวจ พระนรากรบริรักษ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลพายัพ มาเป็นผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ในวันเดือนปีเดียวกันนี้เอง พระยาจ่าแสนบทดี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก็ได้จัดแบ่งแผนกงานในกรมตำรวจสำหรับกองตำรวจสันติบาล โดยให้รวบรวมกรมตำรวจภูบาล ตำรวจกองพิเศษ กับตำรวจภูธรกลางเป็นตำรวจสันติบาล มีหัวหน้าเป็นผู้บังคับการ 1 นาย แบ่งออกเป็น กองที่ 1 กองที่ 2 กองที่ 3 และกองตำรวจแผนกสรรพากร มีหัวหน้าเป็นผู้กำกับการ กองละ 1 นาย กองที่1-2 มีหน้าที่เป็นกำลังช่วยเหลือตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิด ส่วนกองที่ 3 ให้แบ่งเป็น 4 แผนก ดังนี้

กองตำรวจสันติบาลสมัยแรกเริ่มตั้งขึ้นนี้แบ่งออกเป็น 4 กองกำกับการ อยู่ในความควบคุมของ พ.ต.อ.พระนรากรบริรักษ์ ผู้บังคับการ เปิดทำงานครั้งแรก โดยเช่าตึกของกรมหมื่นพิชัย มหินทรโรดม ที่ตำบลท่าเตียน เสียค่าเช่าเดือนละ 400 บาท ซึ่งเรียกติดปากคนในสมัยนั้นว่า “สันติบาลท่าเตียน” เสียค่าเช่าให้ ม.ล.เผ่าเพ็ญพัฒน์ ผู้รับมรดก ต่อมากรมตำรวจได้ จัดสร้าง ตึกกองตำรวจสันติบาลขึ้นใหม่ที่ อำเภอปทุมวัน ตรงข้ามวัดปทุมวนาราม (ตึกโรงเรียนสอบสวนกลางคืน)

หลังจากนั้น ก็ได้ย้ายสถานที่จากตำบลท่าเตียนมาปฏิบัติงานที่ใหม่นี้ เมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2479 ทำงานได้ประมาณ 4 ปีเศษ กรมตำรวจได้สร้างตึกขึ้นใหม่อีกหลังหนึ่งรูปร่างและลักษณะเดียวกันทางด้านทิศตะวันออกของกรมตำรวจปุจจุบัน เสร็จแล้วได้สั่งให้กองตำรวจสันติบาลย้ายมาอบู่ที่ตึกใหม่นี้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2484 คือตึกที่กองตำรวจสันติบาล ตั้งอยู่ในขณะนี้

สรุป ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2475 รัฐบาลของคณะราษฎร์ได้ตั้ง กองตำรวจพิเศษขึ้น มีหน้าที่สืบสวน และหาข่าวสารทางการเมือง มีชื่อว่า “กองตำรวจสันติบาล” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “SPECIAL BRANCH” ซึ่งมีความหมายตรงตัวว่า เป็นตำรวจสาขาพิเศษต่างหากจากตำรวจทั่วไป รากฐานบรรพบุรุษของตำรวจสันติบาลก่อนหน้านี้ก็คือ “ตำรวจภูบาล” ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช

ตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบงานภายในหลายครั้งหลายคราว โดยในปีพ.ศ.2475 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพล.ต.ท.พระยานุเรศผดุงกิจ เป็นผู้รักษาการณ์ในตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ได้แบ่งโครงสร้างของตำรวจสันติบาล ดังนี้

กอง 1 (สืบสวนปราบปราม) มีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมายได้ทั้งในและนอกพระนคร (ทั่วราชอาณาจักร) และทำหน้าที่ช่วยเหลือตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรเมื่อกำลังปราบปรามไม่พอ

กอง 2 (สืบราชการลับ) เป็นกองที่ดำเนินงานสืบสวนราชการลับ และสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของนักการเมืองโดยทางลับและเปิดเผย เพื่อสอดส่องสดับตรับฟังความเคลื่อนไหวของนักการเมือง ว่าดำเนินการไปในทางที่ผิดกฎหมายหรือไม่

กอง 3 กองนี้เป็นกองวิทยาการตำรวจ ซึ่งต้องใช้ผู้มีความรู้พิเศษ เช่น การตรวจพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ต้องหา หรือผู้สมัครเข้ารับราชการว่าเคยต้องโทษมาแล้วหรือไม่ บันทึกประวัติของผู้กระทำผิด การตรวจของกลางต่างๆ ออกรูปพรรณ ของหาย และออกประกาศจับผู้ร้ายซึ่งหลบหนีคดีอาญา

พ.ศ.2476 ได้มีพระราชกฏษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมต่างๆในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2476 กำหนดงานของกรมตำรวจขึ้นใหม่ สำหรับกองตำรวจสันติบาลได้กำหนดไว้ดังนี้

พ.ศ.2477 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองบัญชาการและกรมในกระทรวงมหาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2476 (ฉบับที่ 2) ให้โอนแผนกรถ จากกองกำกับการตำรวจสันติบาลกองที่ 4 ไปขึ้นอยู่กับกองตำรวจเทศบาล จึงเป็นอันว่ากองกำกับการ 4 ตำรวจสันติบาลในสมัยนั้นจึงเหลือเพียง 4 แผนก คือ แผนกปืน แผนกสมาคมและเอกสารหนังสือพิมพ์ แผนกโรงหญิงนครโสเภณี และแผนกพิจารณาภาพยนตร์เท่านั้น

พ.ศ.2478 ถึงปี พ.ศ.2479  มีการเปลี่ยนแปลงหลักการสำคัญในเรื่องการบรรจุแต่งตั้งข้าราชการตำรวจชั้นประทวนเลื่อนเป็นชั้นสัญญาบัตรทั่วราชอาณาจักรต้องแต่งตั้งจากกองตำรวจสันติบาลตามกฎ ก.พ.

พ.ศ.2480 ได้มีพระราชกฤษฎิกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 6) กำหนดให้เพิ่มแผนกทะเบียนคนต่างด้าวเป็นแผนกที่ 6 ในกองกำกับการ 3 ที่ทำงานของแผนกนี้เดิมเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวสีเขียว ปลูกอยู่บริเวณที่ตั้งตัวตึกกรมตำรวจใหม่ แล้วได้ถูกรื้อเอาสถานที่สร้างเป็นกองรักษาการณ์และโรงเตรียมพร้อม ชั้นล่างเป็นโรงซ่อมและเก็บรถของกองตำรวจสันติบาล ต่อมาก็ได้ถูกสั่งให้รื้ออีกเพื่อสร้างเป็นตัวตึกของกรมตำรวจปัจจุบันนี้ ในปีเดียวกัน ได้มีพระราชกฤษฎิกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 6) กำหนดให้เพิ่มแผนกทะเบียนคนต่างด้าวเป็นแผนกที่ 6 ในกองกำกับการ 3 ที่ทำงานของแผนกนี้เดิมเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวสีเขียว ปลูกอยู่บริเวณที่ตั้งตัวตึกกรมตำรวจใหม่ แล้วได้ถูกรื้อเอาสถานที่สร้างเป็นกองรักษาการณ์และโรงเตรียมพร้อม ชั้นล่างเป็นโรงซ่อมและเก็บรถของกองตำรวจสันติบาล ต่อมาก็ได้ถูกสั่งให้รื้ออีกเพื่อสร้างเป็นตัวตึกของกรมตำรวจปัจจุบันนี้

พ.ศ.2481 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 8) กำหนดให้เพิ่มแผนก 5 (ยานพาหนะ) ขึ้นในกองกำกับการ 4 ตำรวจสันติบาลอีก และได้กำหนดข้อบังคับไว้ว่าตราบใดที่มีตัวผู้บังคับการ อธิบดีกรมตำรวจจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจสันติบาลด้วย

พ.ศ.2483 พล.ต.อ.อดุล อดุลเดชจรัส อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้มีคำสั่งให้โอนงานแผนกต่างประเทศ กรมตำรวจมาขึ้นอยู่ใน กองกำกับการตำรวจสันติบาลกองที่ 2

ต่อมา กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า กองกำกับการ 1 (สืบสวนปราบปรามโจรผู้ร้าย) ซึ่งอยู่กับกองตำรวจสันติบาลมีงานเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ สมควรที่จะแยกงานของกองกำกับการ 1 กองกำกับการ 3 และกองกำกับการ 5 ไปขึ้นกับกองตำรวจสอบสวนกลางซึ่งตั้งขึ้นใหม่ มีผู้บังคับการเป็นหัวหน้าส่วนงานของกองตำรวจสันติบาล ให้เพิ่มผู้บังคับการอีกคนหนึ่งต่างหาก โดยแยกงานของกองกำกับการ 2 แผนก 1 (ต่างประเทศ) มาตั้งเป็น กองกำกับการ 1 (ต่างประเทศ) ดำเนินงาน ในกองกำกับการ 3 โดยคงเอางานเกี่ยวกับทะเบียนคนต่างด้าว การเนรเทศ เอกสารหนังสือพิมพ์และสมาคม ไว้ดำเนินการต่อไป และงานของกองกำกับการ 4 ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ให้หนักไปทางอารักขาบุคคลสำคัญ คณะรัฐมนตรี และฑูตต่างประเทศเท่านั้น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับการปราบปราม นอกจากนี้ได้เพิ่มแผนกพิพิธภัณฑ์ อบรมค้นคว้าความรู้ทางการเมือง เข้าไว้ในกองกำกับการ 4 อีกด้วย เป็นการตัดงานด้านการปราบปราม วิชาการตำรวจ และงานทะเบียนบางส่วนซึ่งไม่สำคัญออกเสีย

พ.ศ.2491 กองตำรวจสอบสวนกลางได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ขยายวงงานกว้างขวางออกไปอีก มีผู้บัญชาการเป็นผู้บังคับบัญชาการ กองตำรวจสันติบาลจึงได้เปลี่ยนแปลงมาขึ้นตรงต่ออธิบดีกรมตำรวจ และได้เพิ่มงานแผนกล่ามภาษาต่างประเทศขึ้นอีก แผนก 1 เป็นที่ 4 ในกองกำกับการ 1 (ต่างประเทศ) และแยกงานเกี่ยวกับเอกสารหนังสือพิมพ์ไปขึ้นอยู่กับกองทะเบียน ส่วนที่เกี่ยวกับสมาคมคงอยู่กับสันติบาลต่อไป เพิ่มงานแปลงและแก้สัญชาติเข้าอยู่กองกำกับการ 3 กองตำรวจสันติบาล และยุบแผนกต่างๆ ในกองกำกับการ 4 (รักษาความปลอดภัย) เหลือเป็นกองกำกับการ 4 เพื่อทำหน้าที่อารักขาบุคคลสำคัญเพียงด้านเดียว

พ.ศ.2494 ภัยคอมมิวนิสต์คุกคามเวียดนามหนักขึ้น คนญวนได้อพยพหลบภัยเข้ามาอยู่ในประเทศไทยมาก กองตำรวจสันติบาลจึงได้ตั้งหน่วยควบคุมคนญวนอพยพ มีหน้าที่ควบคุมและดูแลความทุกข์สุขของชาวญวนซึ่งเข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภารโนประเทศไทย อยู่ในความอำนวยการของ พ.ต.ต.หลวงโหมรอนราญ แยกเป็นหน่วยงานหนึ่งต่างหาก ขึ้นอยู่กับกองบังคับการตำรวจสันติบาลโดยตรง

พ.ศ.2495 กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า งานที่เกี่ยวกับคนจีน ซึ่งอยู่ในแผนก 3 กองกำกับการ 1 (ต่างประเทศ) มีงานเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้แยกงานของแผนกนี้ตั้งเป็น กองกำกับการ 5 กองตำรวจสันติบาล มีหน้าที่สืบสวน ควบคุมและสอดส่องพฤติการณ์คนจีนโดยเฉพาะ และทำหน้าที่แปลเอกสารภาษาจีน ซึ่งสถานที่ราชการต่างๆ ส่งมาขอให้แปล และยังได้รับโอนงานเอกสารหนังสือพิมพ์ ซึ่งถูกโอนไปสังกัดอยู่กับกองเมื่อ พ.ศ.2491 กลับมาอยู่กับ กองตำรวจสันติบาลเช่นเดิมอีกครั้งหนึ่ง

พ.ศ.2496 กรมตำรวจได้จัดตั้งกองการต่างด้าวขึ้น กองตำรวจสันติบาลจึงได้โอนงานเกี่ยวกับทะเบียนคนต่างด้าว พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ซึ่งอยู่ในแผนก 1 กองกำกับการ 3 ไปอยู่กับกองการต่างด้าว ส่วนงานที่เกี่ยวกับการแปลงสัญชาติ แก้สัญชาติ และโอนสัญชาติ ไม่ได้โอนไปด้วย

พ.ศ.2498 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทยขึ้นอีก สำหรับตำรวจสันติบาล ได้แบ่งแยกงานในกองกำกับการ 4 ซึ่งทำหน้าที่อารักขา ออกเป็น 4 แผนก ดังนี้

นอกจากนี้ เพื่อรับสมัครบุคคลซึ่งจะเข้ารับราชการเป็นตำรวจสันติบาล จึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจสันติบาลขึ้น เพื่ออบรมสั่งสอนวิชาการ กฎหมาย และระเบียบงานต่างๆ ของกรมตำรวจ ความรู้พิเศษอื่นๆ ตลอดจนเทคนิคในการสืบสวนโดยทั่วๆไปด้วย

พ.ศ.2503 จัดตั้งกอง 6 เป็นหน่วยสืบสวนพิเศษเรื่องคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะ

 พ.ศ.2515 ถึง พ.ศ.2516 จัดตั้งกอง 7 ทำหน้าที่สืบสวนหาข่าวในภูมิภาค นอกจากนี้ยังจัดตั้งงานทะเบียนกลาง และสำนักควบคุมชนต่างชาติผู้อพยพ

ต่อมา ได้มีพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 21 พ.ศ.2535 ได้จัดตั้งให้ “สำนักงานตำรวจสันติบาล” เป็นส่วนราชการระดับกองบัญชาการ มีหน้าที่บริหารงานการข่าวกรอง เกี่ยวกับบุคคล หรือกลุ่มบุคคล ที่มีพฤติการณ์อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญและสถานที่ที่เกี่ยวกับความมั่นคงต่อประเทศ และสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย สัญชาติ การเนรเทศ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การพิมพ์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงต่อประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมชนต่างชาติ ผู้อพยพ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจการ และผลงานของกรมตำรวจ (ในขณะนั้น) โดยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 4 กองบังคับการ และ 1 กลุ่มงานดังนี้

 ด้วยภาระหน้าที่ที่สำคัญยิ่งของสำนักงานตำรวจสันติบาล การปฏิบัติงานที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน่วยงานอื่นใด จากกรมตำรวจในอดีตมาสู่สำรักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน เบื้องหลังความสำเร็จการปฏิบัติราชการของ 4 กองบังคับการ กับอีก 1 หน่วยงาน ที่ขึ้นตรงกับผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่สืบสวนหาข่าวที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ วิเคราะห์สรุปประด็นข่าว งานถวายความปลอดภัย งานอารักขาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ งานผลิตสื่อและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภารกิจที่เกื้อหนุนกันทำให้การปฏิบัติงานของตำรวจสันติบาลประสบความสำเร็จมาโดยตลอด

ปี พ.ศ.2552 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 กำหนดให้ กองบัญชาตำรวจสันติบาล แบ่งส่วนราชการเป็น 5 กองบังคับการ และ 1 กลุ่มงาน ดังนี้